ทำไมคนเราไม่ควรนั่งนาน …เพราะคนเราควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ …

ทำไมคนเราไม่ควรนั่งนาน

…เพราะคนเราควรออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่าในหนึ่งๆวันคุณควรจะมีการขยับร่างกายเพื่อใช้พลังงานวันละ 22 นาทีเป็นอย่างต่ำ แต่คนส่วนใหญ่กลับใช้เวลาไปกับการนั่ง นั่งอยู่หน้าจอคอมม์ หน้าที่ทำงาน หน้าทีวี โซฟาดูหนัง เป็นเวลาติดต่อกันหลายๆชั่วโมง
จริงๆแล้ว การมีพฤติกรรมเฉื่อยชาหรือไม่ขยับร่างกาย อาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วน เบาหวาน มะเร็ง โรคหัวใจ ความดันเลือด และสารพัดโรคที่ทำให้คนเราเสียชีวิตก่อนวัยอันควร
การลดความเสี่ยงจากโรคร้ายอันเกิดมาจากการนั่งเฉื่อยๆติดที่ ก็คือการลดเวลานั่งลง เพราะการนั่งนานๆนั้นจะทำให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานช้าลง ส่งผลต่อความดันเลือด และทำให้คุณกลายเป็นคนที่อ้วนง่ายขึ้นถึงแม้จะควบคุมการทานอาหาร และนำไปสู่การอ้วนและเป็นโรคต่างๆในที่สุด
แต่การทำงานในชีวิตประจำวันทำให้คนต้องใช้เวลาถึง 9 ชั่วโมงในการนั่งอยู่กับที่ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งทำการบ้านในวันเรียน อ่านหนังสือ การนั่งขับรถ การนั่งรถไปทำงาน ไปโรงเรียน การนั่งดูทีวี การนั่งใช้คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ท มือถือ
ในบางอาชีพที่หลีกเลี่ยงการนั่งไม่ได้เช่น อาชีพคนขับรถ หรือนักบินอวกาศ อย่างเช่นในงานวิจัยกรณีศึกษาในต่างชาติเมื่อปีค.ศ. 1950 เมื่อคนขับรถบัสให้กับนิสิต มีแนวโน้มว่าจะหัวใจวายเป็น 2 เท่าของนิสิตในคณะ เพราะว่าใช้เวลานานกว่า 90% ของชีวิตอยู่กับที่นั่งของตนเอง เพราะว่าการนั่งนานๆนั้นส่งผลต่อความดันเลือด น้ำตาลในเลือด กระบวนการเผาผลาญไขมัน และส่งผลต่อความเสื่อมถอยของกระดูกและกล้ามเนื้อ
สำหรับนักบินอวกาศก็เช่นกัน การใช้ชีวิตภายใต้แรงโน้มถ่วงที่มีสภาวะเป็น 0 ส่งผลต่อการสูญเสียมวลกระดูกและกล้ามเนื้อและทำให้ดูชราก่อนวัยอันควร

จะทำอย่างไรให้เราหมดเวลาไปกับการนั่งน้อยลงแล้วขยับให้มากขึ้น
คุณอาจแบ่งช่วงเวลาการนั่งติดต่อกันให้สั้นลง เช่น พอนั่งไปสัก 30 นาที ก็ลุกไปยืดเส้นยืดสายสัก 1-2 นาที จำกัดเวลาการเล่นแท็บเล็บดูทีวีของเด็กๆในบ้านให้เหลือ 1-2 ชั่วโมงต่อวันเพื่อการกระตุ้นให้เด็กๆลุกไปทำอย่างอื่นบ้าง
สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ พ่อแม่ที่กิจวัตรประจำวันยุ่งมักจะปล่อยให้ลูกอยู่หน้าทีวี แท็บเล็บหรือไม่ก็รถเด็กเล่น วิธีการลดกิจกรรมการนั่งนานๆของเด็กเล็กในวัยนี้ก็คือ
– ลดเวลาที่นั่งอยู่รถ / รถเข็น/ รถเด็กเล่น / ให้อย่าเกิน 1 ชั่วโมงต่อครั้ง
– ใช้ที่ช่วยเดิน หรือผ้าพยุงตัวเด็ก เพื่อพาเด็กน้อยให้ได้ขยับร่างกายบ่อยๆ
– ลดเวลาหน้าทีวี หรือหน้าจอแท็บเล็บ
– เพิ่มกิจกรรมอื่นๆที่เหมาะสมกับเด็กวัยต่ำกว่า 5 ขวบ ให้ลองได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์

สำหรับกลุ่มเด็กตั้งแต่ 5 ขวบ – วัยรุ่นอายุ 18 ปี

กลุ่มนี้มักจะได้เคลื่อนย้ายตัวเองบ่อยๆในเวลาที่เดินทางออกจากบ้านไปโรงเรียน เดินทางออกไปยังคลาสอื่นๆ ไปยังห้องเรียน หรือชมรมต่างเป็นปกติ
การลดกิจกรรมการนั่งสำหรับเด็กวัยนี้้คือ
-ลดเวลาการนั่งหน้าจอมือถือ แท็บเล็บ
-ทำให้ห้องนอนเป็นห้องที่ปราศจาก ทีวี แท็บเล็ท คอมพิวเตอร์ หรือมือถือ
-หากิจกรรมอื่นเข้ามาแทนที่ในบ้าน เช่นจัดโต๊ะสำหรับเล่นเกมส์กระดานด้วยกัน หรือนำสกู๊ตเตอร์ สเกตบอร์ด ลูกบอล ปิงปอง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ได้เคลื่อนไหวร่งากาย
– ลดเวลาที่ใช้หน้าจอทีวีลง และหากิจกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก
สำหรับวัยผู้ใหญ่ ช่วงอายุ 19-64 ปี อาจหลีกเลี่ยงการนั่งได้ยากเพราะหมดเวลาไปกับการทำงาน และการเดินทางจากบ้านไปทำงาน และจากที่ทำงานกลับบ้าน

เทคนิคการลดเวลานั่งนานๆ ได้แก่
– เลือกที่จะยืนบนรถไฟฟ้า รถเมล์บ้าง
– ใช้การเดินขึ้นตึกด้วยบันไดแทนลิฟต์
. ตั้งเวลาให้ลุกทุกๆ 30 นาที
– ลองวางแล็ปท็อปไว้บนจุดที่สามารถยืนทำงานได้
– เวลาคุยโทรศัพท์ให้ลองเดินไปเดินมาดู
– ช่วงเบรคกินกาแฟให้ออกไปเดินเล่นเสียหน่อย
– เดินไปยังโต๊ะทำงานของเพื่อนร่วมงานแทนที่การส่งอีเมลเพื่อสื่อสารงาน
– เปลี่ยนช่วงเวลาหน้าจอให้เป็นเวลาของกิจกรรมอื่นๆ เช่น การออกกำลังกายหรือทำงานอดิเรก

สำหรับคนสูงวัย อายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป เป็นที่รู้กันดีว่าใช้เวลาในการนั่งนานมาก มากกว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน วิธีการลดกิจกรรมนั่งสำหรับคนวัยนี้ ได้แก่

– อย่านั่งอยู่หน้าทีวีหรือหน้าจอคอมม์นานเกินไป ให้ลุกขึ้น และเดินไปเดินมาระหว่างทำกิจกรรมนั้นบ่อยๆ เช่น เวลาทีวีโฆษณา หรือเวลาเข้าช่วงน่าเบื่อ
– เวลาคุยโทรศัพท์ก็ให้ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายอย่านั่งคุยเฉยๆ
– เดินขึ้นบันไดบ้างเท่าที่พอจะทำได้ อย่างช้าๆ
– ทำกิจกรรมที่ได้ใช้การเคลื่อนไหวน้อยๆ เช่น ทำสวน หรือทำงานประดิษฐ์ diy
– พยายามเข้าไปร่วมกลุ่มสังคมเช่น กลุ่มเต้นลีลาส กลุ่มเล่นไทเก๊ก กลุ่มเดิน
– พยายามเล่นกับหลานให้มากขึ้น สอนหลานทำงานบ้าน
..
สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึง สามารถสั่งซื้อได้ทาง
✅LINE : https://shop.line.me/@bluphama
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
.
Youtube : youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
IG : dr.cant.help
LINE : https://lin.ee/piE9kvf
.
มาพูดคุยกับสมาชิกกลุ่ม แฟนแพจ และคุณหมอได้ในกลุ่มนี้เลยค่ะ ^^
https://www.facebook.com/groups/1131079083894264/

ติดต่อเรา