มารู้จักภัยร้ายของโรคไมเกรนกันเถอะ . อาการปวดหัวที่พบบ่อยในคนทั่วไปแบ่งออกเป็น …

มารู้จักภัยร้ายของโรคไมเกรนกันเถอะ
.
อาการปวดหัวที่พบบ่อยในคนทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มอาการใหญ่ๆ คือ
.
1 การปวดหัวจากความเครียด
มักเกิดกับวัยรุ่นตอนโต ไปจนถึงผู้ใหญ่ที่ต้องสมองในการทำงานหรืออ่านเอกสารอย่างหนัก ทำให้เกิดความเครียด จนมีอาการปวดหัวประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนที่อาการเหล่านั้นจะหายไปเอง และอาการปวดจะมีระดับต่ำไปจนถึงปานกลาง โดยจะแค่รู้สึกปวดหัวอย่างเดียวและไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย
.
2 การปวดหัวจากการเป็นไมเกรน
อาการปวดไมเกรนนั้นพบได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่ เป็นการปวดรับของกล้ามเนื้อที่บริเวณซีกใดซีกหนึ่งของสมอง เช่น รอบเบ้าตา หรือแถวขมับด้านใดด้านหนึ่ง ระดับการปวดศีรษะค่อนข้างรุนแรงและกินระยะเวลายาวนานตั้งแต่ 4 ชั่วโมงไปจนถึง 3 วัน และอาจมีอาการอื่นร่วมด้วยเช่น วิงเวียนศีรษะ ปวดท้อง อยากอาเจียน และมีไข้ร่วมด้วย ซึ่งเป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
.
อะไรคือสาเหตุของการปวดหัว
.
ความเจ็บปวดจากการปวดหัวจะเกิดบริเวณเส้นเลือด และเส้นประสาทบริเวณต่างๆของสมอง ซึ่งสามารถเกิดจากปัจจัยแวดล้อมต่อไปนี้
.
– มีอาการป่วยอยู่ เช่นเป็นไซนัสอักเสบ เป็นหวัด เจ็บคอ ร่างกายติดเชื้อไวรัส เป็นต้น
.
– ความเครียด เป็นตัวการของอาการบาดเจ็บหลายอย่างในร่างกาย ความรู้สึกว่ากล้ามเนื้อตึง บริเวณสันขอไปจนถึงไขสันหลัง ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานยาแก้เครียด หรือแอลกอฮอล์มากเกินไป หรือการรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ และมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี เช่น นอนน้อย ไม่ออกกำลังกาย เป็นต้น
.
– สภาวะแวดล้อม มลพิษทางอากาศ มลภาวะทางเสียง ฝุ่น ควัน การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีสารเคมีเป็นส่วนประกอบ การต้องอยู่ในที่ๆมีแสงสว่างจ้ามากเกินไป หรือเสียงดังเกินไปล้วนทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ทั้งนั้น
.
– พันธุกรรม อาการไมเกรนนั้นสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และเพิ่มความเสี่ยงที่ลูกจะเป็นโรคไมเกรนถึง 70% แต่ถ้าพ่อแม่คนใดคนหนึ่งเป็น และอีกคนไม่เคยมีอาการไมเกรน ความเสี่ยงที่ลูกจะมีอาการไมเกรนก็จะลดลง 25-50% เช่นกันค่ะ

ถ้าหากว่าคุณมีอาการปวดหัวตั้งแต่ปานกลาง-รุนแรง เป็นระยะเวลานานตั้งแต่ 3-6 เดือนติดต่อกัน นั่นหมายความว่าคุณควรเข้าพบแพทย์เพื่อการทำการรักษาอย่างถูกต้องแล้วล่ะค่ะ เพราะการรักษาอาการปวดหัวในบุคคลแต่ละคนนั้นไม่สามารถเลียนแบบวิธีของคนอื่นได้

เมื่ออาการปวดหัวเริ่มรบกวนชีวิตประจำวัน เป็นเวลานาน และไม่หายขาดเสียที ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าตรวจวินิจฉัยโดยละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญในการรักษาอาการปวดหัวโดยเฉพาะ เพราะว่าวิธีการรักษาอาการปวดหัวของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนสามารถกินยาแก้ปวดก็หายได้ บางคนกินยาแก้ปวดแล้วก็ยังไม่หาย จนต้องเลือกใช้วิธีการรักษาอื่น เช่น กระตุ้นด้วยไฟฟ้า หรือการเรียนรู้การจัดการกับความเครียด เป็นต้น

การตรวจหาสาเหตุของการปวดหัวที่มีประสิทธิภาพ

– การทำ CT scan
– การทำ MRI เพื่อตรวจเช็คสมอง
– *ตรงกันข้าม การทำ EEG และ การเอ็กซเรย์กระดูก เป็นการตรวจที่ไม่ประโยชน์สำหรับคนที่มีอาการปวดหัว

วิธีการรักษาตัวเองเมื่อมีอาการปวดหัว

นอกจากไปพบแพทย์แล้ว การดูแลรักษาตัวเองจะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการจดบันทึกว่ามีอาการเกิดขึ้นประมาณกี่ชั่วโมงและมักเกิดขึ้นในเวลาไหนบ้าง เพื่อจะได้ดูพัฒนาการของการรักษา พยายามจดบันทึกว่าคุณจะมีความรู้สึกปวดหัวหลังจากการรับประทานอาหารชนิดใด หรือหลังจากได้กลิ่นของสารเคมีประเภทใด เพื่อจะได้พยายามหลีกเลี่ยงได้

การปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของร่างกาย เช่น รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ และลดสารปรุงแต่งรส กลิ่น สี ลง รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รวมถึงหมั่นสังเกตอาการร่วมระหว่างปวดหัวด้วย เช่น มีอาการวิงเวียน ศีรษะ ตาพร่า หรือ อยากอาเจียนหลังทานข้าว เพื่อจะได้สามารถรายงานผลต่อแพทย์ และทำให้แพทย์สามารถวินิจฉัยหาหนทางรักษาได้เร็วขึ้นค่ะ

ติดต่อเรา