รู้หรือไม่? ผู้ชายเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าผู้หญิง รู้หรือไม่? ผู้ชายเสี…

รู้หรือไม่? ผู้ชายเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าผู้หญิง

รู้หรือไม่? ผู้ชายเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าผู้หญิง

ทฤษฎีนี้เป็นความจริง ด้วยสถิติพบว่าระยะอาการอักเสบเฉียบพลันที่ข้อ ส่วนใหญ่พบในชายอายุ 40-60 ปีขึ้นไป และเหตุผลที่ผู้ชายมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง ก็เพราะว่าผู้หญิงมีฮอร์โมนเพศที่สามารถขับกรด Uric ออกได้ดีกว่าผู้ชาย แต่ถึงอยากไรก็ตามผู้หญิงก็มีโอกาสเกิดโรคเก๊าท์ได้เช่นเดียวกันเมื่อหลังประจำเดือนหมด ทีนี้เมื่อเรารู้แล้วว่าโรคเก๊าท์สามารถเป็นได้กับทุกคน งั้นลองมาดูกันค่ะว่าโรคเก๊าท์คืออะไร มีวิธีป้องกันได้อย่างไร และถ้าเป็นแล้วจะรักษาอย่างดีไร อ่านบทความนี้ได้เลยค่ะ
.
โรคเก๊าท์คืออะไร ?
โรคเก๊าท์เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคข้ออักเสบ ที่เกิดจากการสะสมของผลึกกรด Uric (กรดยูริก) ตามข้อต่าง ๆ ทำให้เกิดการอักเสบ ปวดบวมในขั้นรุนแรง อีกทั้งยังเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการความดันโลหิตสูง รวมไปถึงโรคลูลีคีเลียอีกด้วย

Uric มีความเข้าใจผิดในเรื่องของการกินอย่างมาก หลายคนจะบอกว่า เวลาเป็นเก๊าท์ ห้ามกินยอดผักห้ามกินพวก กระถิน ชะอม หรืออะไรต่าง ๆ ที่เป็นยอดผักแต่ในงานวิจัยพบว่า ยอดผักเหล่านี้ไม่ได้มีผลต่อค่า Uric เพราะฉะนั้นคนที่เป็นเก๊าท์ หรือว่า Uric ในเลือดสูง สามารถทานยอดผักได้ อีกอย่างคือเวลาเราทานเป็ดทานไก่จะทำให้ Uric สูงเพิ่มขึ้น แต่มันสูงขึ้นมาได้ก็ไม่เกิน 1 มิลิกรัม เพราะฉะนั้นก็จะยังทานได้ครับ แต่ต้องทานในปริมาณที่ไม่มาก
.
วิธีป้องกัน
การกินเป็นสาเหตุหลัก ๆ อีกสิ่งนึงที่หลายคนละเลยนะคะ คือในน้ำซุปจะมีปริมาณ Uric ที่เยอะมาก ๆ และนอกจากจะทำให้ปริมาณ Uric สูงแล้วเนี่ยยังจะเร่งให้ Uric ไปตกในข้ออีกด้วย การกินผลไม้ ก็ทำให้ Uric สูงได้ เพราะน้ำตาลผลไม้หรือว่าน้ำตาลฟรุกโตส น้ำตาลผลไม้อยู่ในไหนบ้างอยู่ในน้ำหวาน เครื่องดื่มหวาน ๆ แทบทุกชนิดนะคะไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้ น้ำผึ้งก็เป็นน้ำตาลฟรุกโตส การทานผลไม้ปริมาณมาก ๆ มันก็จะได้น้ำตาลผลไม้เข้าไปเยอะ ถูกไหมค่ะ สามารถทำให้ Uric เติมขึ้นได้ถึง 35% เลยนะคะ ดังนั้นเวลาจะทานอะไรควรดูให้ดี และกะปริมาณการทานกันด้วยนะคะ
.
วิธีรักษา
การรักษาโรคเก๊าท์นั้นแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ก็คือระยะแรกกับระยะเฉียบพลัน เป้าหมายของการรักษาโรคเก๊าท์ คือ การบรรเทาอาการปวดให้หายไปอย่างรวดเร็ว ป้องกันการเกิดเป็นซ้ำ

การรักษาโรคเก๊าท์ในระยะแรก
กินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
งดรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดกรดยูริกสูงในกระแสเลือด
งดดื่มแอลกอฮอล์
ดื่มน้ำสะอาดเยอะๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายขับกรดยูริกออกมาพร้อมกับปัสสาวะได้มากขึ้น

ในกรณีที่ผู้ป่วยรักษาและดูแลตัวเองในเบื้องต้นแล้ว แต่ยังมีอาการกำเริบมากกว่า 2-3 ครั้งต่อปี อาจต้องเข้ารักษากับแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับยาลดกรดยูริกเป็นกรณีพิเศษ

การรักษาโรคเกาต์แบบเฉียบพลัน
พักการใช้ข้อที่มีภาวะอักเสบ
ใช้น้ำแข็งประคบเพื่อลดอาการบวม
ใช้ยาแก้ปวดในทันทีที่อาการของเก๊าท์กำเริบ ได้แก่ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาโคลชิซีน (colchicine) รวมถึงยาสเตียรอยด์แบบรับประทาน (oral corticosteroids)
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา