หลอดเลือดหัวใจตีบตันแบบไม่รู้ตัว อันตรายถึงชีวิต ป้องกันอย่างไรดี? โรคกล้ามเนื้…

หลอดเลือดหัวใจตีบตันแบบไม่รู้ตัว อันตรายถึงชีวิต ป้องกันอย่างไรดี?

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน คือ อยู่กลุ่มโรคหัวใจที่เร่งด่วน ถ้ามีอาการเจ็บหน้าอก คือ หลอดเลือดมันตันจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้ กล้ามเนื้อหัวใจก็เลยตายแบบเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงในการที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมีอยู่ 5 กลุ่ม คือ
1 คนที่สูบบุหรี่
2 คนที่เป็นความดันโลหิตสูง
3 คนที่เป็นเบาหวาน
4 คนที่มีคอเลสเตอรอลสูง
5 คนที่มีหลอดเลือดอักเสบ ซึ่งจะทราบจากการตรวจร่างกายประจำปี จะมีค่าที่เรียกว่า CRP กับ Homocysteine ในคนที่มีค่า CRP (C-Reactive Protein) กับค่า Homocysteine สูง คือ เป็นกลุ่มคนที่เข้าข่ายมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ
.
ภาวะเจ็บหน้าอกที่อันตราย
ภาวะเจ็บหน้าอกแบบไหนที่อันตราย? แล้วต้องรีบไปโรงพยาบาล การเจ็บหน้าอกแบ่งออกเป็น 2 แบบกว้างๆ คือ
▪ แบบอันตราย เรียกว่า Unstable Angina เป็นตัวที่บ่งบอกถึงว่า หัวกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งถ้าเกิดอาการแบบนี้ต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วนหรือเป็นภาวะฉุกเฉิน ลักษณะอาการ คือ เจ็บขณะพัก โดยที่คุณไม่ต้องออกแรงใดๆ เลย ในบางคนมีอาการขณะนอน นอนหลับไปแล้วก็เจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งควรระวังเป็นอย่างมาก สิ่งสำคัญ คือ หากเจ็บขณะพัก โดยที่เรายังนอนพักอยู่แบบนั้นนั้น ถ้าในเวลา 20 นาที แล้วอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน บ่งบอกว่า มีกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
▪ แบบเกิดขึ้นเวลาออกแรง ลักษณะอาการ คือ ออกแรงแล้วเจ็บแน่นหน้าอก ซึ่งแบบนี้ยังไม่รุนแรงเท่าแบบแรก แต่ในแบบที่ 2 สมมุติว่าเกิดขึ้นขณะเราออกแรง สิ่งสำคัญคือ ถ้าในเวลา 20 นาทีแล้วไม่หาย มีการเจ็บแน่นหน้าอก ลักษณะ คือ มันจะเจ็บแน่นเหมือนมีอะไรมาเหยียบ มาบีบ ในบางคนมีอาการร้าวไปที่หลัง บางคนมีร้าวไปที่ไหล่ แล้วถ้าภายใน 20 นาทีอาการไม่ดีขึ้นต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน
,
5 สิ่งที่คุณจะต้องทำถ้าคุณมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก ที่บ่งบอกถึงกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
▪ หากเริ่มเจ็บแน่นหน้าอก คุณต้องจับเวลาเลยว่า เจ็บกี่นาที ถ้า 20 นาทีแล้ว ไม่หายคุณต้องไปโรงพยาบาลโดยด่วน

▪ ในช่วงที่เจ็บหน้าอก สิ่งที่สำคัญ คือ คุณต้องเลือกไปโรงพยาบาลที่สามารถสวนหัวใจแบบฉีดสีได้ ในคนที่มีความเสี่ยงแล้วอยู่ต่างจังหวัด อยู่ในอำเภอที่ห่างไกลโรงพยาบาล ควรเช็คไว้ก่อนเลยว่า โรงพยาบาลไหนที่ใกล้ที่สุด ที่สามารถสวนหัวใจแบบฉีดสีได้ เพราะว่าคุณต้องไปโรงพยาบาลเหล่านั้น

▪ ยาที่ควรจะมีติดไว้ คือ แอสไพลิน (Aspirin) ปกติคนที่เป็นโรคหัวใจทุกวันนี้จะทานยาเบบี้แอสไพริน (Baby Aspirin) อยู่แล้ว โดยแนะนำให้ทานยาแอสไพลิน 325 mg ให้เคี้ยวและกลืน ถ้าเป็น Baby Aspirin ซึ่ง 1 เม็ดมี 81 mg ควรทานไปเลย 4-6 เม็ด โดยควรเคี้ยวก่อนค่อยกลืน ซึ่งการเคี้ยวก่อนจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้นเพราะว่าภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉิน จริงๆ แล้วสาเหตุที่เกิดภาวะเฉียบพลัน พบว่า เกิดจากตัว Plaque หรือสิ่งที่อุดตันหลอดเลือดมันแตก พอมันแตกเกิดการฉีกขาดมันจะมีเลือดออก พอเลือดออกตัวเกร็ดเลือดของเราเลยพยายามไปอุดรูเพื่อห้ามเลือด พอเวลาเกร็ดเลือดไปอุดจำนวนมากมันเลยตันขึ้นมา มันจึงเกิดภาวะแบบนี้ขึ้น ซึ่งยาแอสไพรินเป็นตัวยับยั้งเกร็ดเลือดหรือยาต้านเกร็ดเลือด เพราะฉะนั้นยาที่สำคัญที่สุดในภาวะนี้คือ ยาแอสไพริน

▪ ไม่ควรใช้ยาอมใต้ลิ้น ในหลายคนใช้ยาอมใต้ลิ้นหรือตัวยาขยายหลอดเลือด โดยไม่แนะนำให้ทานในช่วง 20 นาทีแรกที่มีอาการ เพราะพบว่า การทานยาอมใต้ลิ้นหรือยาขยายหลอดเลือดจะไปบดบังอาการทำให้เราไม่รู้ว่าเราเป็นภาวะนี้แล้ว เพราะฉะนั้น 20 นาทีแรกไม่แนะนำให้ทาน ซึ่งงานวิจัย พบว่า ยาอมใต้ลิ้นหรือยาขยายหลอดเลือดในภาวะแบบนี้ไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตลงได้ ซึ่งตัวที่ช่วยลดความเสี่ยงได้ดี คือ ยาแอสไพริน นั่นเอง

▪ อย่าตื่นตระหนกตกใจ หากคุมสติได้เมื่อไหร่ ให้ผ่อนคลายร่างกาย หายใจเข้าออกลึกๆ ผ่อนคลายอยู่กับลมหายใจนั้น

ปัจจัยหลักที่จะเกิดเรื่องของกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันหรือหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน
มีอยู่ 2 ปัจจัย คือ
1.) ไขมันที่มาพอก มาอุดตันหลอดเลือด
2.) หลอดเลือดหดตัว นี่คือ 2 ปัจจัยหลักที่จะทำให้ภาวะนี้แย่ลง

หลอดเลือดอักเสบ ต่อมาคือไขมันเลวไปเกาะหลอดเลือดพอเกาะแล้วก็จะมีแคลเซียมไปเกาะตาม

วิธีการป้องกัน
Fish Oil ป้องกันหลอดเลือดอักเสบ
CoQ10 ป้องกันตัว LDL คอเลสเตอรอล ที่จะกลายไปเป็นอนุมูลอิสระ
วิตามิน K2 กับ Magnesium ป้องกันแคลเซียมไปเกาะไปพอกหลอดเลือด

สนใจสินค้าสุขภาพ หรือทำนัดเข้าพบคุณหมอ สามารถติดต่อได้ทาง
💬 Inbox: m.me/drcanthelp
✅ Line Shopping : https://lin.ee/tpmtgGI
หรือ
✅Line@ของคลีนิค https://lin.ee/piE9kvf
✅ ร้านค้า Shopee: https://shp.ee/nm86kr9
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา