อินซูลิน ความลับของการลดน้ำหนักที่แท้จริง . พยายามลดน้ำหนักกี่ครั้งก็ไม่เป็นผล…

👉 อินซูลิน ความลับของการลดน้ำหนักที่แท้จริง
.
🙋🏻 พยายามลดน้ำหนักกี่ครั้งก็ไม่เป็นผล, ออกกำลังนะ❗️ แต่หยุดกินไม่ได้ทำไงดี, นับแคลลอรี่ทุกวันแต่น้ำหนักไม่ลงเลย!

🔊 วันนี้เรามีเรื่องราววิธีมาเสนอ และบางทีมันอาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลว่าทำไมคุณถึงลดน้ำหนักไม่ได้สักที
.
ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันเสียใหม่ว่า ❌ คนเราไม่ได้ลดน้ำหนักแล้วจะสุขภาพดี แต่คนเราต้องสุขภาพดีก่อน ✔️ น้ำหลักถึงจะลด น้ำหนักส่วนเกินเป็นผลของสุขภาพที่ไม่ดี และการลดน้ำหนักไม่ใช่สิ่งที่ร่างกายจะยอมให้เกิดขึ้นได้ง่ายๆ เพราะหน้าที่ของมันคือการทำให้มนุษย์คนนึงอยู่รอด การเสียพลังงานซึ่งสะสมในรูปแบบต่างๆ เช่น ไขมัน จึงไม่ใช่เรื่องปกติของมัน
.
🔑 ฮอร์โมน คือตัวการใหญ่เบื้องหลังของการเพิ่มหรือลดน้ำหนัก เจ้าฮอร์โมนที่เป็นศัตรูกับการลดน้ำหนักที่ล้มเหลวไม่เป็นท่าหลายต่อหลายครั้งก็คือ “อินซูลิน”
.
👉 อินซูลิน คืออะไร?
อินซูลิน (Insulin) ไม่ได้มีไว้เพื่อควบคุมอาการของคนเป็นโรคเบาหวานเท่านั้น เจ้าอินซูลินเป็นอร์โมน ที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มันมีหน้าที่ส่งพลังงาน (ในรูปของกลูโคสจากการย่อยน้ำตาล) จากเลือดสู่เซลล์และสั่งให้เซลล์ปิดเมื่อได้รับกลูโคสที่เพียงพอ แล้วส่งกลูโคสที่เหลือไปเก็บในรูปของไขมัน ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จากนั้นอินซูลินก็จะค่อยๆ ลดปริมาณลง
.
หากเรากินน้ำตาลหรืออาหารมากเกินไป 🍮 🍭 อินซูลินที่ถูกส่งมาก็จะมากตาม แต่เซลล์ต้องการน้ำตาลปริมาณเท่าเดิม เมื่อถึงเวลาที่เซลล์อิ่ม ปากเซลล์ปิด แต่กลูโคสปริมาณมากจะยังคงเหลืออยู่ เกิดกลูโคสส่วนเกิน ส่วนอินซูลินจะลดลงทีละเล็กน้อยและเรียกร้องหาน้ำตาลอยู่ นั่นหมายถึงไขมันที่จะเก็บไว้ใช้ก็จะมากตาม เกิดเป็นไขมันสะสมตามร่างกายและทิ้งพุงน้อยๆ 🐷 ไว้เป็นที่ระลึก
.
👉 มีอินซูลินมากเกินไปจะเกิดอะไรขึ้น?
อินซูลินมากขึ้นในเวลาต่อเนื่อง อวัยวะต่างๆ ในร่างกายจะตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยลง เรียกว่า ⚠️ ภาวะดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance) หลังจากนี้ร่างกายต้องการอินซูลินมากขึ้นเพื่อส่งกลูโคสเข้าสู่เซลล์ในปริมาณเท่าเดิม การที่น้ำหนักตัวเกินและไขมันสะสมมากก็ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลินได้ง่ายขึ้น
.
นอกจากนี้ อินซูลินยังมีผลกับสมอง 🧠 เพราะอินซูลินจะไปกระตุ้นการสร้างโดพามีน หรือฮอร์โมนแห่งความพึงพอใจ เมื่อเกิดภาวะดื้ออินซูลิน การสร้างโดพามีนซึ่งพึ่งพาอินซูลินก็จะตอบสนองน้อยลงด้วย คุณจึงต้องการอินซูลินมากขึ้นเพื่อให้ได้โดพามีนเท่าเดิม ผลคือความอยากอาหารก็จะมากขึ้นด้วย กลายเป็นวงจร อินซูลินในร่างกายสูงทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน และภาวะดื้ออินซูลินก็ทำให้อินซูลินในร่างกายมีสูง
.
🐖 พุงย้อยๆ ที่คุณเห็นในกระจกอาจเป็นผลจากการที่คุณมีอินซูลินมากเกินไป ว่ากันง่ายๆ ถ้าอยากลดน้ำหนัก คุณต้องทำให้อินซูลินในร่างกายลดลง เพื่อให้ร่างกายดึงไขมันที่สะสมไว้ออกมาใช้❗️ลดภาวะดื้ออินซูลิน เป็นเหตุผลว่าทำไมวิธีการลดน้ำหนักแบบ Intermittent Fasting (การลดน้ำหนักแบบแบ่งช่วงเวลากินและงดอาหาร) หรือ Ketoginic Diet (การลดน้ำหนักแบบงดแป้ง) จึงได้ผลกับหลายคนที่ลดน้ำหนักแล้วพลาดตลอด
.
📍 วิธีทำให้ร่างกายลดระดับอินซูลินลง มีดังนี้
✔️ ลดแป้ง ข้อนี้ตรงตามคุณสมบัติของอินซูลิน กินแป้งมาก อินซูลินก็มากตาม

✔️ ลดแป้งควบคู่กับโปรตีน อย่างเช่น เบอร์เกอร์ที่มีเนื้อกับแป้งประกบ ยิ่งถ้ากินคู่กับโค้กซึ่งน้ำตาลสูง ระดับอินซูลินจะยิ่งพุ่งสูงขึ้นไปอีก จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทฟาสฟู้ดและอาหารขยะทั้งหลาย

✔️ ลดโปรตีนไร้ไขมัน เพราะมันยิ่งช่วยให้อินซูลินพุ่งสูงขึ้น ทั้งนี้ไม่ได้แปลว่าให้กินไขมันมากๆ นะ ไขมันยังแยกเป็นไขมันประเภทดีและเลวอีก ไขมันที่ควรบริโภคคือไขมันประเภทดี เช่น อโวคาโด ถั่ว

✔️ ลดโซเดียม มันจะกระตุ้นการสร้างอินซูลินในร่างกายได้ถึง 2 เท่า

✔️ ลดความเครียด คอติซอลซึ่งเกิดจากความเครียดเป็นเพื่อนสนิทกับอินซูลิน หากร่างกายผลิตออกมามาก มันจะมาเพื่อนสนิทของมันตามมาด้วย

✔️ กินน้อยมื้อ การกินบ่อยเกินไป หรือหลายมื้อ ส่งผลให้ร่างกายต้องส่งอินซูลินออกมาตลอด
.
💥 โดยสรุปแล้ว การกินอาหารหรือน้ำตาลที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดไขมันส่วนเกิน และเป็นผลให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน และทำให้ร่างกายเสพติดของหวาน การนับแคลอรี่ การงดไขมันและออกกำลังกายอย่างเดียวจึงอาจไม่เป็นผล แต่เราจำเป็นต้องรู้เท่าทันและเข้าใจร่างกายตัวเองเสียก่อน

.
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://bit.ly/2tU2xo0
📌 IG : dr.cant.help
📌 LINE : https://lin.ee/piE9kvf

ติดต่อเรา