3 ปัจจัยที่ใช้ประเมินว่าค่าไขมันสูงอันตรายแล้วหรือยัง? . 1. ค่าคอเลสเตอรอล คือ…

3 ปัจจัยที่ใช้ประเมินว่าค่าไขมันสูงอันตรายแล้วหรือยัง?
.

1. ค่าคอเลสเตอรอล คือ การดูว่า LDL (ไขมันไม่ดี) สูงหรือไม่? โดยปกติจะดูว่า LDL เกิน 3 เท่าของ HDL (ไขมันดี) แล้วหรือเปล่า? ถ้า LDL มีค่าเกินกว่า 3 เท่าของ HDL ก็จะเริ่มไม่ดีแล้ว เพราะว่าปกติ HDL เป็นตัวที่เก็บคอเลสเตอรอลไปทำลายทิ้งที่ตับ แล้วตัว LDL เป็นตัวที่เอาคอเลสเตอรอลไปทิ้งที่หลอดเลือด ถ้าสัดส่วนยังอยู่ที่ 3:1 ก็ถือว่ายังมีความสมดุลกันอยู่ ถือว่าดีแล้ว แต่นอกจากจะดูที่สัดส่วนนี้แล้วควรจะดูด้วยว่า LDL ควรต่ำกว่า 190 จะถือว่าดีมากกว่า แต่ถ้าต่ำกว่า 160 ได้จะยิ่งดีที่สุด
.
2. การประเมินความเสี่ยง โดยประเมินว่าคอเลสเตอรอลที่สูงแล้วนั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ มีความเสี่ยงที่จะอุดตันหลอดเลือดหรือเปล่า? ซึ่งสามารถลองประเมินความเสี่ยงด้วย ASCVD (atherosclerotic cardiovascular disease) เป็นการประเมินความเสี่ยงว่าหลอดเลือดเสื่อมแล้วหรือยัง? ซึ่ง ASCVD เป็นการบ่งบอกภาวะว่าหลอดเลือดเสื่อม แล้วดูว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจสูงเท่าไหร่ ภายใน 10 ปีนี้ โดยจะให้เรากรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ เพศ ความดันตัวบน ความดันตัวล่าง ค่าคอเลสเตอรอล HDL LDL การสูบบุหรี่ โรคประจำตัว เป็นต้น เมื่อเราใส่ข้อมูลลงไปจะมีการประมวลความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจภายใน 10 ปีนี้ของเราว่าเป็นเท่าไหร่ ถ้าค่าออกมาแล้วเกิน 7.5 ถือว่ามีโอกาสเสี่ยงสูง ควรแก้ไขและดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี
.
3. การตรวจ Apo-B (Apolipoprotein B) เป็นตัวที่บ่งบอกว่า LDL เป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ โดย LDL ยิ่งเล็กยิ่งร้าย หากเป็นตัวใหญ่ถือว่ายังไม่เป็นไร ค่า Apo-B ที่บ่งบอกว่า LDL เป็นตัวเล็ก คือ ค่าเกิน 100 ขึ้นไป
.
*เพราะฉะนั้น หากประเมินออกมาแล้วมามีความเสี่ยงหมดทั้ง 3 ข้อ อาจจะต้องกินยาลดไขมันแล้วนั่นเอง
.
การทำ IF เป็นการที่ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ต่ำ เพราะว่าไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันที่มาจากพวกคาร์โบไฮเดรต เวลาที่ทำ IF ยาวๆ แล้วร่างกายไม่มีพลังงานร่างกายจะเอาไตรกลีเซอไรด์สลายมาใช้ แต่หากคนที่ทำ IF แล้วทำให้ LDL สูงขึ้นจะเกิดจากความเครียดจึงต้องไปดูแลเรื่องความเครียดให้ดี
โดยจริงๆ แล้วคอเลสเตอรอลเกิดจากการกิน 25-30% เกิดจากร่างกายเราสร้างขึ้นเอง 70-75% ที่ร่างกายเราสร้างขึ้นเองนั้นเพราะโดยมากแล้วคอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นในการไปสร้างฮอร์โมนต่างๆ แล้วในคนที่มีความเครียดสูงไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากงาน นอนดึก พักผ่อนน้อย เป็นความเครียดทั้งหมด แล้วการทำ IF ก็เป็นความเครียดอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน
ในคนที่มีภาวะความเครียดสูงๆ อยู่แล้วจนมีอาการแสดงออกมา เช่น เวลากลางวันรู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ไม่ควรทำ IF เพราะว่าเวลาที่ทำแล้วจะยิ่งเครียด เวลาเครียดแล้ว LDL จะยิ่งสูง แต่การที่ทำ IF แล้วมีไตรกลีเซอไรด์ต่ำลงจะทำให้ LDL มีตัวใหญ่ขึ้น คนที่มี LDL สูงพร้อมกับมีไตรกลีเซอไรด์สูง มักจะมี LDL เป็นตัวเล็ก ถ้าตรวจ Apo-B มาก็จะพบว่าเป็นตัวเล็ก เพราะฉะนั้นการที่มีไตรกลีเซอไรด์ต่ำๆ จะช่วยให้ LDL ตัวใหญ่ขึ้น เมื่อตัวใหญ่ขึ้นก็จะไม่ค่อยเกาะไม่ค่อยพอกหลอดเลือด
.
คอเลสเตอรอลสูงจะป้องกันควรทำอย่างไร
อาหารเสริมที่สามารถช่วยป้องกันคอเลสเตอรอลได้ดี คือ
– CoQ10 (Ubiquinone) ทาน 100 mg กับ Vitamin C ช่วยป้องกันไม่ให้คอเลสเตอรอลไปเกาะไปพอกหลอดเลือด
– Pregnenolone, Vitamin D, Vitamin E เป็นสารตั้งต้นในการไปสร้างฮอร์โมน พอเราได้สารตั้งต้นในการไปสร้างฮอร์โมนแล้วจะทำให้ร่างกายสร้างคอเลสเตอรอลน้อยลง

จะเห็นได้ว่า หากค่าคอเลสเตอรอลสูง มีสัดส่วนของ LDL : HDL ที่ไม่สมดุลกัน จะก่อให้เกิดความเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดเสื่อม เราจึงต้องควบคุมคอเลสเตอรอลให้ดี ทั้งปรับเปลี่ยนการทานอาหาร หลีกเลี่ยงไขมันเลว ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือการหาอาหารเสริมมาทานก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถพิจารณากันได้เช่นกันค่ะ อย่างไรก็ตามสุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่าลืมหันมาดูแล ใส่ใจสุขภาพกันนะคะ
.
สนใจสินค้าสุขภาพที่คุณหมอพูดถึง สามารถสั่งซื้อได้ทาง Inbox หน้าเพจ
หรือ Line@ของคลีนิคค่า
✅LINE : https://lin.ee/piE9kvf
——————————-
ติดตามความรู้เรื่องสุขภาพ และวิธีการดูแลสุขภาพได้ที่
📌 เพจ : อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 Youtube : https://youtube.com/c/อย่าฝากชีวิตไว้กับหมอ
📌 IG : dr.cant.help

ติดต่อเรา